การปฏิวัติทางสังคมและทางการเมือง

นัก Marxism แยกการปฏิวัติที่เปลี่ยนระบอบการปกครอง ออกเป็น 2 ประเภท คือ การปฏิวัติทางสังคม และ การปฏิวัติทางการเมือง ซึ่งการปฏิวัติทั้ง 2 รูปแบบนี้ ไม่เกี่ยวข้องกับการกระทำรัฐประหารของทหาร ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของชนชั้นปกครองอยู่แล้ว จึงไม่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงขนาดใหญ่

การปฏิวัติทางสังคม ทางการเมือง ส่งผลต่อเศรษฐกิจสังคม และความเป็นอยู่ของประชาชนอย่างไร

โดยการปฏิวัติทางการเมือง เป็นการปฏิวัติภายในระบบเศรษฐกิจสังคมที่กำลังดำรงอยู่ โดยถ้ามีการยึดอำนาจรัฐ รูปแบบรัฐก็อาจเปลี่ยน หากแต่โครงสร้างเศรษฐกิจสังคมจะไม่เปลี่ยน เพราะการยึดอำนาจรัฐมีความยิ่งใหญ่กว่า การยึดรัฐบาล มากมายหลายเท่านัก หากแต่สิ่งที่มีความยิ่งใหญ่กว่า คือ การปฏิวัติทางสังคม เนื่องจากสามารถเปลี่ยนแปลงทั้งรูปแบบรัฐ รวมทั้งลักษณะเศรษฐกิจสังคมได้อย่างรุนแรง โดยมีการถ่ายเทการปกครองไปยังชนชั้นใหม่

โดยการปฏิวัติทางสังคม สามารถเป็นผลพวงในการเปลี่ยนแปลงระบบเศรษฐกิจสังคมใหม่ จนเกิดการปะทะกับระบบเก่า หรืออาจนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในระบบเศรษฐกิจได้เลย  ในการปฏิวัติทางการเมือง ผู้ที่ถูกกดขี่ในระบบเก่า ก็จะยังเป็นผู้ที่ถูกกดขี่อยู่ในระบบใหม่เช่นเดียวกัน

บ่อยครั้งที่การปฏิวัติทางสังคมจะมีความเชื่อมโยงกับการปฏิวัติทางการเมือง ยกตัวอย่างจากเหตุการณ์จริง ที่เกิดขึ้นในประเทศอังกฤษ จากการปฏิวัติทางสังคมซึ่งล้มระบบ Feudalism ในปี ค.ศ.1640 หากแต่ต่อมาก็ตามมาด้วยการปฏิวัติในปี ค.ศ.1688 ที่มีการเปลี่ยนรัฐและลดบทบาทกษัตริย์ลงอย่างเต็มรูปแบบ หรืออีกเหตุการณ์หนึ่งคือชัยชนะของรัฐทางตอนเหนือของประเทศอเมริกาในเหตุการณ์สงครามกลางเมือง ในปี ค.ศ.1861-65 อันเป็นชัยชนะของนายทุน ที่อยู่เหนือเจ้าของทาสในรัฐทางใต้ ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นการปฏิวัติทางสังคมที่สถาปนาทุนนิยมในสหรัฐอย่างบ้าคลั่ง

หรืออีกหนึ่งตัวอย่างก็คือ ในยุคหลังการปฏิวัติฝรั่งเศส ที่ได้นำสังคมไปสู่การสถาปนาทุนนิยมและรัฐทุนนิยม หากแต่ไม่นำด้วยนายทุนซึ่งลุกขึ้นสู้กับระบบเก่า เนื่องจากชนชั้นปกครองในระบบเก่าอาจมีแนวติดว่า ถ้าไม่ปฏิวัติตัวเองพร้อมจัดการล้มระบบเก่าก็จะไปไม่รอด หรืออย่างในประเทศไทยการปฏิวัติล้มระบบศักดินาของรัชกาลที่ 5 ก็เช่นเดียวกัน มักเป็นการปฏิวัติทางสังคม ซึ่งเปิดเส้นทางไปสู่ทุนนิยม โดยมีเป้าหมาย คือ ทำให้ประเทศไทยเกิดความสมัยใหม่ เพราะฉะนั้นคุณผู้อ่านก็คงจะเห็นแล้วว่า การยึดอำนาจรัฐ พร้อมเปลี่ยนไปสู่ระบบเศรษฐกิจสังคมโดยชนชั้นใหม่ หากแต่ตัวบุคคลก็ไม่เปลี่ยน ถ้าในประชาชนสามารถล้มเผด็จการทหารได้ ก็จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเศรษฐกิจสังคมจากทุนนิยม ซึ่งกำลังดำรงอยู่ ณ ปัจจุบันกลายไปเป็นอย่างอื่น เพ่อเตรียมตัวปฏิวัติทางสังคมไปสู่สังคมนิยมได้

One Reply to “การปฏิวัติทางสังคมและทางการเมือง”

  1. admin

    การปฏิวัติทางสังคม และทางการเมืองในทุกวันนี้มีอยู่หลายประเทศที่เกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้นโดยเฉพาะประเทศไทยที่เมื่อหลายปีที่ผ่านมาทำให้ Ligaz เกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้นผมเลยคิดว่ามันเป็นเรื่องที่ควรแก้ไขให้ดีขึ้นครับเพื่อความเจริญก้าวหน้าของประเทศ

Comments are closed.